Lab ENE324 Group5

รูปภาพของฉัน
นายณัฐนัย สุพันธุ์วณิช 55070502467 // นายธนนนท์ มานะชัยมงคล 55070502469 // นายธนวัฒน์ ลิ่มทองพิพัฒน์ 55070502470 // นายธีรภัทร เขษมเวสารัชวุฒิ 55070502471 // นางสาวกุณชญา เอกศิริพงษ์ 55070502472 // นายปฐวี อินทุยศ 55070502474 // นายปัณณวิชญ์ สิทธิญาวณิชย์ 55070502475 // นายพีรวิชญ์ ปฏิเวชปัญญา 55070502477 // นายภัทรกนิษฐ์ วงศ์บา 55070502478

วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

Experiment 10: Global Positioning System(GPS)

วัตถุประสงค์ :
 1. เพื่อศึกษาการรับสัญญาณ จากดาวเทียมระบุตำแหน่ง GPS
2. เพื่อทำความเข้าใจกับ กับโปรโตคอล NMEA - 0183


ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง :
ระบบ GPS (Global Positioning System ) ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่
1. ดาวเทียมที่ทำการส่งข้อมูลตำแหน่ง
2. สถานีภาคพื้นดินที่ทำหน้าที่ควบคุม ดาวเทียม
3. เครื่องรับสัญญาณ จากดาวเทียม ที่ถอดรหัสและคำนวณ ตำแหน่งบนพื้นโลก

ทางเรขาคณิต
        โดยพื้นฐานแล้ว การที่จะสามารถทำการคำนวณตำแหน่งของเราในปัจจุบัน ได้ถูกต้อง จำเป็นต้อง
ทราบข้อมูลต่างๆ ของตำแหน่งที่สามารถอ้างอิงได้ ในอดีต ต้องใช้การอ่านมุมทิศ เทียบกับตำแหน่งที่ทราบค่าและทำการคำนวณแบบเส้นสามเหลี่ยมบนแผนที่ เมื่อเราทราบพิกัดของมุมแล้วสามารถลากเส้นตรงผ่านตำแหน่งอ้างอิง และทำซํ้า จนเห็นจุดที่ตัดกันของเส้นที่ทำการลากไป อย่างไรก็ตาม ก็ส่งกล้องหามุมที่แม่นยำยังไม่แม่นยำเพียงพอ จุดตัดของเส้นสามเส้น ก็อาจจะกลายเป็นรูปสามเหลี่ยมขึ้นมา ซึ่งตำแหน่งที่ตั้งของเราอาจจะอยู่ในสามเหลี่ยมที่เกิดขึ้น แต่ไม่สามารถได้ตำแหน่งที่แน่นอน หากสามเหลี่ยมนี้มีขนาดที่เล็กพอ เราอาจจะลากเส้นอีกเส้นหนึ่งเพื่อหาความเกี่ยวเนื่องกัน ความแม่นยำของตำแหน่งที่ได้ขึ้นกับความสามารถที่จะได้มุมองศาที่แม่นยำ และความสามารถในการพล๊อต รวมทั้งความถูกต้องของข้อมูลตำแหน่งของสถานที่อ้างอิง
      เครื่องรับสัญญาณ GPS ทำการวัดระยะห่างจากดาวเทียม และใช้ข้อมูลนี้ในการกำหนดตำแหน่ง โดย
ใช้การวัดช่วงเวลาที่สัญญาณเดินทางมาถึง ด้วยความเร็วที่เท่ากับความเร็วของอย่างไรก็ตามสถานีที่ว่านี้คือ ดาวเทียมซึ่งจะเคลื่อนที่ไปตลอดเวลา จึงต้องให้ตัวดาวเทียมเองทำการส่งข้อมูลตำแหน่งของตัวมันเอง เพื่อใช้ในการคำนวณตำแหน่งในเครื่องรับ ดังนั้นจึงคาดได้ว่าเราสามารถคำนวณ ตำแหน่งที่อยู่คร่าวๆได้ว่า อยู่ในทรงกลม ที่กำหนดจากรัศมี หรือระยะห่างจากดาวเทียม จากนั้นเมื่อเราได้ข้อมูลแบบเดียวกันจากดาวเทียมดวงที่สอง เราจะสามารถคำนวณ ทรงกลมอันที่สองซึ่งจะตัดกับทรงกลมอันแรก ซึ่งที่ตั้งของเราน่าจะอยู่ภายในบริเวณที่ตัดกันของทรงกลมทั้งสอง หากมีข้อมูลแบบเดียวกันจากดาวเทียมดวงที่สาม เราสามารถคำนวนและวาดทรงกลมที่จะตัดกับทรงกลมสองอันแรกสองจุด หากเราทราบตำแหน่งของเราโดยประมาณเราก็จะสามารถเลือกจุดที่ถูกต้องได้ และสามารถระบุตำแหน่งแบบ3D ได้ หากได้ข้อมูลจากดาวเทียมดวงที่สี่ มันก็ควรจะแสดงในตำแหน่งเดิมที่เราได้คำนวณไปแล้ว
     การที่จะสามารถระบุตำแหน่งคงที่ได้เสมอแปลว่า เราต้องทำการคำนวณเรื่อยๆ จากข้อมูลดาวเทียมที่
เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา เมื่อเรามีข้อมูลอ้างอิงตำแหน่งได้มากขึ้น เราจะสามารถแสดงข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้ เป็นต้นว่าทิศทางของการเคลื่อนที่จากการเปรียบตำแหน่งในปัจจุบันกับในเวลาที่ผ่านมา คำนวณความเร็ว ระยะทาง เวลา และค่าอื่นๆ นอกจากนี้ยังใช้ข้อมูล Doppler data จากดาวเทียมที่กำลังเคลื่อนที่ตัวเลข almanac data เพื่อใช้ในการประมาณตำแหน่งของดาวเทียมทั้งหมดในระบบ และ ephemeris data ที่ส่งมาจากดาวเทียมโดยตรง เพื่อใช้คำนวณตำแหน่งในอวกาศของดาวเทียม ลักษณะการเรียงตัวทางเรขาคณิตของดาวเทียมต่างๆ มีผลมากกับความเที่ยงตรงในการกำหนดพิกัดตำแหน่งด้วยตัวเลขไม่มีหน่วยที่ใช้แทนลักษณะทางเรขาคณิตนี่เรียกว่า Dilution Of Position, DOP และถูกในระบบ GPS เพื่อที่จะเลือกดาวเทียมดวงที่จะให้ผลการคำนวณที่ดีที่สุดซึ่งค่า DOP ที่น้อยแสดงว่าลักษณะทางเรขาคณิตดีกว่า

ทางคณิตศาสตร์
       อีกทางหนึ่งในการเข้าใจการทำงานของ GPS คือการศึกษาคณิตศาสตร์ของการคำนวณตำแหน่งจากทฤษฏีของพีธากอรัส :  Prs + T + Es = sqrt{(X - Xs)2 + (Y - Ys)2 + (Z - Zs)2}
โดย X, Y, Z คือตำแหน่งที่เราต้องการหาและ T คือเวลาผิดพลาดของเครื่องรับ เทอม Xs, Ys, Zs คือตำแหน่งของดาวเทียมที่สามารถคำนวณได้จากข้อมูล (ephemeris information) ที่ส่งมาจากดาวเทียม เทอม Es เป็นค่ารวมของค่าผิดพลาดต่างๆที่ ถูกพิจารณาโดยระบบ GPS เช่นค่าผิดพลาดจากการเดินทางในบรรยากาศโทรโปสเฟียร์ และ ไอโอโนสเพียร์ ค่าผิดพลาดของสัญญาณนาฬิกาบนดาวเทียมรวมทั้งค่าอื่นที่เครื่องรับ GPS คิดว่าจำเป็นในการจำลอง Prs คือค่าระยะ pseudorange จากดาวเทียมถึงเครื่องรับเนื่องจากเราสามารถคำนวณ Pseudorange และ ตำแหน่งของดาวเทียมอย่างเป็นอิสระต่อกัน เพื่อใช้ในการแก้สมการที่มี 4 ค่าที่ต้องการ คือ X, Y, Z, และ T ดังนั้น เราต้องการ 4 สมการเพื่อแก้สมการ หาค่าตัวที่ไม่ทราบค่าทั้ง 4 (least squares problem) วิธีหนึ่งที่ใช้กัน คือ ประมาณค่าหนึ่งในสี่มาก่อน จากนั้นแทนค่าที่เหลือเพื่อคำนวนหาผลต่างจนเมื่อเหลือผลต่างในระดับที่ยอมรับได้ ก็จะใช้เป็นคำตอบ
      ในทางปฏิบัติเครื่องรับ GPS ของ Garmin จะคำนวณสมการที่มีตัวไม่ทราบค่า 7 ตัว และเพิ่มข้อมูลตัว
แปรดอปเปลอร์ dx, dy, และ dz ซึ่งแทนค่าความเร็วสัมพันธ์ระหว่างดาวเทียมกับเครื่องรับ เทอมเหล่านี้เป็นที่ต้องการเนื่องจากเราอ้างอิงจากวัตถุที่เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา dx และ dy สามารถที่จะใช้เป็นส่วนหนึ่งในการคำนวณความเร็วของเครื่องรับ ( ค่า dz ไม่ใช้ ) เครื่องรับในปัจจุบัน จะใช้ระบบการรับสัญญาณ 12 ช่องสัญญาณพร้อมกัน หรือบางรุ่นรับ 20 ช่องพร้อมกัน เพื่อให้สามารถมีข้อมูลที่มากเกินพอ และให้ความเที่ยงตรงที่สูงขึ้นเครื่องรับทำงานโดยการเลือกขอ้ฒุลจากดาวเทียมที่ดีที่สุด 4 ดวง โดยอิงจากค่า DOP ถ้าหากดาวเทียมเคลื่อนตัวออกไปจากมุมมอง หรือถูกบล๊อกสัญญาณจากสิ่งปลูกสร้าง ต้นไม้ วัตถุ เครื่องรับก็จะสวิทช์เลือกดาวเทียมดวงใหม่เพื่อเอาข้อมูลมาคำนวณแทน ถ้าหากจำนวนของดาวเทียมที่สามารถมองเห็นลดลงเหลือ 3 ดวง ผลการคำนวณแบบ 3D จะไม่สามารถทำได้แล้วเครื่องรับจะคำนวณแบบ 2D ร่วมกับข้อมูลความสูงเก่า ในการกำหนดพิกัด

เกี่ยวกับ VisualGPS        VisualGPS  incorporates many advanced features found in professional programs.  Its sole purpose is to display graphically specific NMEA 0183 sentences and show the effects of selective availability (SA).
มีหน้าต่างที่สามารถแสดงข้อมูล :- Azimuth and Elevation Graph  หน้าต่างนี้แสดงมุมทิศและมุมเงยของดาวเทียมทุ กดวงที่มองเห็น   
แสดงหมายเลข pseudo random number (PRN)พร้อมกับมุ มอซิมุธ และมุมเงย  
- Survey หน้าต่างนี้แสดงตําแหน่งและตัวแปร xDOP (HDOP และ VDOP) ผู้ใช้งานสามารถเลือกสีของ HDOP/VDOP และสามารถแสดง ค่าการเบี่ยงเบนมาตรฐาน และผลของ Selective Availabilityรวมทั้งพล๊อตกราฟให้ด้วย   
- Signals Quality/SNR Window หน้าต่างนี้แสดงค่าสัญญาณต่อน้อยส์ที่รับได้ และแสดงแบบแท่งกราฟพร้อมกัน 12 ช่อง  
- Navigation – หน้าต่างนี้แสดง latitude, longitude และ altitude
- NMEA Command Monitor – หน้าต่างนี้แสดงข้อความรหัส NMEA ที่รับได้


การทดลอง :
     1. เปิดโปรแกรม VisualGPS, ต่อเครื่องรับ GPS เข้ากับ USB เลือกความเร็ว 4800 bps รายละเอียดเพิ่มเติมหาจากคู่มือผู้ผลิต
     2. วางเครื่องรับ และสายอากาศ GPS ออกห่างอาคาร เพื่อผลการรับสัญญานที่ดี
     3. GPS สามารถแสดงค่าพิกัดตำแหน่งภายในเวลา 1 นาที จากนั้นค่าละตอจูด และ ลองติจูดจะแสดงบนจอ
     4. เมื่อค่าถูกแสดงแล้วให้บันทึกล๊อกไฟล์ของข้อมูลโปรโตคอล NMEA-1083 วิเคราะห์หาข้อมูลสำคัญ
     5. เปิดหน้าต่างอื่นๆ ของ VisualGPS ดู บันทึกค่าที่แสดงโดย เก็บภาพหน้าจอและอธิบาย
     6. นำพิกัดที่ได้มา เปิดใน Google Earth ต้องทำอย่างไร
     7. นำพิกัดที่ได้มา เปิดใน Google Map ต้องทำอย่างไร

เครื่องมือที่ใช้ : 1. PC loaded with GPS viewer, RMC to NMEA, Google Earth, Google Map
                         2. GPS Receiver


ผลการทดลอง :

รูปที่1 The Log windows
เครื่องรับสัญญาณจะรับข้อมูลมาและถอดรหัส
รูปที่2 The Signal windows
แกนนอนจะบอกจำนวนของดาวเทียว
แกนตั้งจะบอกความแรงของสัญญาณที่รับได้จากดาวเทียมแต่ละดว
รูปที่3 The Navigation windows
การบอกตำแหน่งละติจูด,ลองติจูด, และระดับความสูง
รูปที่4 The Survey windows
แสดงข้อมูลทางสถิติในการรับสัญญาณนับตั้งแต่เปิด GPS
รูปที่5 The Satellites windows
เส้นสีน้ำเงิน แสดงเส้นทางการเดินทางของดาวเทียม
PRN : Number คือ ดาวเทียม ซึ่งสีเหลือง แสดงถึงดาวเทียมที่รับได้  ส่วนสีเท่าแสดงถึงดาวเทียมที่รับไม่ได้
 
รูปที่6 ตำแหน่งที่แสดงโดย Google Earth
 
รูปที่7 แสดงตำแหน่งที่แสดงโดย Google Map
สรุปผลการทดลอง
การทำงานของ GPS ดาวเทียมจะส่งสัญญาณหาเครื่องรับเพื่อตรวจหาระยะห่างระหว่างดาวเทียมและพื้นโลกเพื่อหาพิกัดตำแหน่งเครื่องรับซึ่งนาฬิกาของดาวเทียมและของเครื่องรับจะต้องตรงกันเพื่อใช้ในการคำนวนหาระยะทาง
โดยเครื่องรับสัญญาณ GPS จะรับสัญญาณจากดาวเทียมที่ส่งมาบนผิวโลก เครื่องรับสัญญาณGPS จะต้องรับสัญญาณจากดาวเทียมได้ไม่ต่ำกว่า 4 ดวง โดยการคำนวณหาตำแหน่งพิกัดบนผิวโลกนั้น จะคำนวณระยะทางระหว่างดาวเทียมกับ เครื่องรับสัญญาณGPSจากเวลาที่ดาวเทียมส่งมา และ ตำแหน่งที่GPSทราบแน่นอนของดาวเทียมดวงนั้น เมื่อได้ระยะห่างจากดาวเทียม ตั้งแต่ 4 ดวงขึ้นไปที่ตำแหน่งเดียวกัน ก็จะสามารถหาตำแหน่งพิกัดที่จุดนั้นได้

วิจารณ์ผลการทดลอง
          ในการใช้ GPS ระบุตำแหน่ง เพื่อให้เกิดความแม่นยำ ต้องมีดาวเทียมอย่างน้อยทั้งหมด 4 ดวงเพื่อบอกตำแหน่งบนผิวโลก หากใช้ดาวเทียม 3 ตัวจะสามารถระบุตำแหน่งบนผิวโลกคร่าวๆได้ แต่พื้นโลกมีความโค้งเป็นลักษณะวงกลม ดังนั้นดาวเทียมดวงที่ 4 จึงจำเป็นเพื่อทำให้คำนวณความสูงเพื่อให้ได้ตำแหน่งที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
          การทำงานของ GPS ดาวเทียมจะส่งสัญญาณหาเครื่องรับเพื่อตรวจหาระยะห่างระหว่างดาวเทียมและพื้นโลกเพื่อหาพิกัดตำแหน่งเครื่องรับซึ่งนาฬิกาของดาวเทียมและของเครื่องรับจะต้องตรงกันเพื่อใช้ในการคำนวนหาระยะทาง

คำถาม :
     1. การรับสัญญาณ GPS มีข้อจำกัดอย่างไร
     ตอบ - สัญญาณ GPS จะไม่สามารถทะลุเข้าไปในตึกได้ ทำให้เครื่องไม่สามารถที่จะใช้ในอาคารได้
               สัญญาณอาจสะท้อนตึกเข้ามายังเครื่องรับจึงทำให้ระยะห่างคลาดเคลื่อน
             - การรับสัญญาณจะต้องอยู่ในสถานที่ที่ไม่อับสัญญาณถึงจะทำให้ติดต่อกับดาวเทียมได้
               และจะต้องอยู่ในพื้นที่ที่มีสัญญาณดาวเทียมคลอบคลุม เพราะ GPS ใช้ดาวเทียมเป็นตัว
               บอกตำแหน่ง
     2. ในการทดลองนี้มีผลที่มาจากการรบกวนของคลื่นวิทยุบนพื้นโลกหรือไม่ ?
     ตอบ มีผล เพราคลื่นวิทยุบางคลื่นบนพื้นโลกอาจมีความถี่เดียวกันกับGPSจึงเกิดการรบกวนได้

     3. ให้แสดงรายละเอียดของตำแหน่งได้จากภาพถ่ายดาวเทียม
     ตอบ


Experiment 9: Time Division Multiplexing and Demultiplexing

วัตถุประสงค์ของการทดลอง :
              1. เพื่อศึกษาหลักการมัลติเพล็กซ์ทางเวลา
                2. เพื่อทดลองการส่งสัญญาณแบบ มัลติเพล็กซ์ทางเวลา 4 ช่อง
                3. เพื่อศึกษาหลักการทำงานของวงจรมัลติเพล็กซ์และดีมัลติเพล็กซ์

รายการอุปกรณ์ :
                1. ชุดทดลองระบบสื่อสารมัลติเพล็กซ์              
                2. แหล่งจ่ายไฟตรงสำหรับวงจรทดลอง
                3. ออสซิลโลสโคป 20 MHz แบบ 2 เส้นสัญญาณ
                4. เครื่องนับความถี่
                5. สายคีบ

ทฤษฎี
          วงจรในการทดลองแบ่งเป็น สองส่วนคือภาคส่ง(Transmitter) และภาครับ (Receiver)ดังรูป ซึ่ง
ภาคส่งอยู่ทางซ้ายมือ

สัญญาณที่ผ่านการมัลติเพล็กซ์ทางเวลาแล้วจะมีการแบ่งช่องเวลา
ออกเป็น  5 ช่องเวลาเพื่อเรียงสัญญาณดังนี้

รูปที่3สัญญาณมัลติเพล็กซ์ทางเวลาจาก TP.9

       ดังนั้นในวงจรภาคส่งจะมีวงจรที่ทำหน้าที่ต่างๆเพื่อสร้างสัญญาณตามที่ต้องการ

          ด้านซ้ายมือของวงจรภาคส่งมีอินพุตขาเข้า 4 อินพุท (1,2,3,4) สามารถป้อนสัญญาณความถี่เสียงเข้าได้ โดยอินพุททั้งสี่ สามารถเลือกว่ามาจากภายในบอร์ดก็ได้โดยการควบคุมที่ดิปสวิทช์ 4 ช่อง IC#4051 (TP.9) ทำหน้าที่เป็นสวิทช์ 5 ช่องควบคุมจาก IC#7490 (TP.5,6,7) ซึ่งสัญญาณควบคุมกำหนดจากสัญญาณนาฬิกา IC555(TP.8)
        วงจรภาครับแสดง IC#MC1733 ทำหน้าที่ขยายสัญญาณที่รับมาผ่านวงจรแปลงสัญญาณแสงเป็นไฟฟ้าออกที่ TP.11 จากนั้นเข้าวงจรแยก Sync. ออกเพื่อสร้างสัญญาณนาฬิกาภาครับให้เข้าจังหวะกับสัญญาณนาฬิกาภาคส่ง โดยใช้ #565PLL ส่วน 7490 และ 4051 ทำหน้าที่เหมือนภาคส่ง
       นำแผงวงจรทดลองติดตั้งเข้ากับแหล่งจ่ายไฟตรงของชุดทดลองซึ่งจะจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงค่า +5v
และ-10v ให้กับวงจรการเชื่อมต่อสัญญาณให้ใช้สายนำแสงต่อเชื่อมสัญญาณ

ขั้นตอนการทดลอง :
              1. เลือกใช้แหล่งกำเนิดสัญญาณอินพุตภายใน หรือภายนอก ถ้าใช้จากภายนอกป้อนสัญญาณได้ไม่เกิน 2 Vp-p
                   2. เปิดสวิทซ์ให้วงจรทำงาน วัดและบันทึกรูปสัญญาณเข้าทั้งสี่ช่องสัญญาณ
                3. วัดความถี่และสัญญาณ clk ที่ภาคส่ง ที่จุด TP8 บันทึกรูปและขนาดของสัญญาณ
                4. บันทึกรูปคลื่นที่จุด TP5, TP6, TP7 ตั้งค่าฐานเวลาของเครื่องออสซิลโลสโคปให้แสดงสัญญาณอย่างน้อย 4 พัลซ์
                5. ป้อนสัญญาณเข้ารูป sine wave อย่างเดียวโดยเลือกที่สวิทซ์อินพุท แล้วบันทึกสัญญาณที่ TP9
                6. วัดความถี่ของสัญญาณ Sync ที่ TP9 ได้ความถี่.......... KHz
                7. เปรียบเทียบขนาดของสัญญาณ Vin ที่เข้าไปที่ภาครวมสัญญาณ และขนาดของ Vin ที่ปรากฏที่ TP9 ว่ามีขนาดเหมือนกันอย่างไร มีแรงดันสูญเสียใน multiplexer switch เท่าไหร่
                8. บันทึกรูปคลื่นของสัญญาณที่ตกคร่อมความต้านทาน 10 Ohms (TP4) ว่าเป็นอย่างไร
                9. ขนาดของสัญญาณที่จุด TP11 เปลี่ยนแปลงอย่างไร หลังการปรับที่ Gain adj.
             10. บันทึกความถี่สัญญาณ clk ที่ภาค PLL ของวงจรภาครับสร้างขึ้นมามีค่าเท่าไหร่ และความแตกต่างกับสัญญาณ clk ที่ภาคส่งอย่างไร ? Freq...........Hz
               11. ปรับ R16 ที่ภาค PLL เพื่อดูผลว่า วงจรสามารถที่จะสร้างสัญญาณ clk ต่างจากสัญญาณ Sync ได้ในช่วงใดบ้าง เมื่อปรับค่า R16 ไม่ถูกต้อง สัญญาณที่ส่งมาจะไม่สามรถออกไปที่เอ้าพุตได้และอาจมีเสียงน้อยซ์จากการที่สัญญาณ clk ไม่ถูกต้อง


ผลการทดลอง :
1. เลือกใช้แหล่งกำเนิดสัญญาณอินพุต วัดและบันทึกรูปสัญญาณเข้าทั้งสี่ช่อง
2. เปิดสวิทซ์ให้วงจรทำงาน วัดและบันทึกรูปสัญญาณเข้าทั้งสี่ช่องสัญญาณ




                                             
                                              CH.1                                                  CH.2



                                          CH.3                                                     CH.4



3. วัดความถี่และสัญญาณนาฬิกาที่ภาคส่งที่จุด TP8 บันทึกรูปและขนาดของสัญญาณ

Volts/Div = 2 Volts/Div
Times/Div = 10 us/Div
Frequency = 438.4 KHz
4. บันทึกรูปคลื่นที่จุด TP5,TP6,TP7 ให้แสดงสัญญาณอย่างน้อย 4 พัลซ์

 TP5
 
  TP6

 TP7

5. ป้อนสัญญาณเข้ารูป sinewave อย่างเดียว โดยเลือกที่สวิตซ์อินพุท แล้วบันทึกสัญญาณที่จุดออก TP9

6. วัดความถี่ของสัญญาณ Sync ที่ TP9 ได้ความถี่ 87.41 KHz

7. เปรียบเทียบขนาดของสัญญาณ Vin ที่เข้าไปที่ภาครวมสัญญาณและขนาดของ Vin ที่ปรากฏที่ TP9 ว่ามีขนาดเหมือนกันอย่างไร มีแรงดันสูญเสียใน Multiplexer Switch เท่าไหร่
i/p voltage = 920 mV
o/p voltage = 200 mV
มีแรงดันสูญเสียใน multiplexer switch 0.92-0.2 = 0.72 V
 

 
8. บันทึกรูปคลื่นของสัญญาณที่ตกคร่อมความต้านทาน 10 Ohms (TP4) ว่าเป็นอย่างไร

 

10. ขนาดของสัญญาณที่จุด TP11 เปลี่ยนแปลงอย่างไร หลังจากปรับที่ Gain adj. 
      - ขนาดของสัญญาณที่จุด TP11 เพิ่ม ลด ตามการปรับ Gain adj.

11.ความถี่สัญญาณ clk ที่ภาค PLL ของวงจรภาครับและภาคส่ง มีค่าเท่ากันที่ความถี่438.9 KHz

มีการเลื่อนเฟสเล็กน้อย จะเลื่อนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการปรับ Clock Adj.
 รูปร่างของสัญญาณ มีการผิดเพี้ยน ตามรูปการทดลอง

12. ปรับ R16 ที่ภาค PLL เพื่อดูผลว่า วงจรสามารถที่จะสร้างสัญญาณนาฬิกาต่างจากสัญญาณ Sync ได้ในช่วงใดบ้าง
- เมื่อปรับค่า R16 ไม่ถูกต้องสัญญาณที่ส่งมา วงจรเฟสล๊อกลูปจะไม่สามารถสร้างสัญญาณให้ตรงกับสัญญาณนาฬิกาขาส่งได้ ทำให้ไม่สามารถมัลติเพล็กซ์ออกไปที่เอ้าท์พุทได้ถูกต้องเหมือนต้นทาง และอาจมีเสียงหวีดจากการที่สัญญาณนาฬิกาไม่ถูกต้องทำให้เกิดการผสมของความถี่เป็นเสียงหวีดออกมาซึ่งเสียงที่ได้เป็นเสียงเดียวกันแต่มีขนาด amplitude ต่างกันก็คือเสียงเบาลงนั่นเอง

สรุปผลการทดลอง :
                จากการทดลอง Time division multiplex เป็นระบบที่ใช้การสื่อสารที่มีการแบ่งช่องเวลาเป็นช่วงๆโดยในแต่ละช่องจะใช้สำหรับการบรรจุข้อมูลที่มาจากแหล่งกำเนิดสัญญาณที่ต่างๆเรียงกันไป การทำงานของวิธีการมัลติเพล็กแบบแบ่งเวลา สัญญาณทางภาคส่งแต่ละช่องจะถูกอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คล้ายสวิตซ์ ทำการเปิดปิดข้อมูลและส่งไปในสื่อสัญญาณเพื่อเชื่อมระหว่างภาคส่งและภาครับ โดยมีสัญญาณ Synchronize เป็นตัวควบคุมระยะเวลาที่ใช้สำหรับรับและส่งข้อมูล ในแต่ละช่องทางด้านภาครับก็จะใช้สัญญาณ Synchronize นี้ในการเปิดปิดสวิตซ์ ทำให้ข้อมูลถูกส่งไปยังช่องสัญญาณที่ถูกต้อง

วิจารณ์การทดลอง :

                การส่งข้อมูลแบบ TDM นั้นจะสามารถช่วยในการประหยัดวงจรในการส่งข้อมูล จะเห็นได้จากการทดลอง เราสามารถส่งสัญญาณรูปต่างๆกัน โดยส่งเพียงส่วนหนึ่งของมันเท่านั้น ซึ่งในภาครับก็สามารถที่จะสร้างสัญญาณกลับมาเหมือนตอนส่งได้ ส่วน bandwidth ของวงจร มีค่าขึ้นอยู่กับค่าความถี่สูงสุดของสัญญาณที่ส่งในวงจร ในการทดลอง มีความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ใช้ในการควบคุม Interleaving โดยใช้วงจร astable multivibrator ส่วนทางภาครับใช้หลักการ Phase Lock Loop ในการสร้างสัญญาณนาฬิกาที่ตรงกับสัญญาณนาฬิกาในภาคส่ง นอกจากนี้การส่งผ่านเส้นใยแก้วนำแสง ยังแสดงว่าวงจรส่งและรับในการทดลองนั้นแยกกัน